Search
Search

NEXcloud ERP ผู้ช่วยที่ดีในการจัดการภาษีในธุรกิจ SMEs ของคุณ

ทำไม Nexcloud ERP ถึงเป็นผู้ช่วยที่ดีในเรื่อง “ภาษี”

ธุรกิจ SMEs ของคุณมีนักบัญชีเ และนักกฎหมายที่เก่งกาจ รวมทั้ง ERP ที่ได้รับมาตรฐานจากสรรพากรอย่าง NEXcloud ERP มาช่วยดูแลธุรกิจของคุณการจัดการบัญชีและภาษีจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปด้วยระบบที่ช่วยลดขั้นตอนในการทำงานของคุณลง การวางแผนภาษีและจัดการขอคืนภาษีซื้อที่เป็นระบบ รูปแบบเอกสารที่ถูกต้องตามหลักสรรพากร ไม่ว่าจะเป็น รายงานภาษีซื้อ, รายงานภาษีขาย, รายงาน ภ.ง.ด. 3, รายงาน ภ.ง.ด. 53, รายงาน ภพ. 30, และหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย อีกทั้งในตอนนี้ทางบริษัทยังอยู่ในกระบวนการอัปเดตเอกสารเพิ่มเติมไม่ว่าจะเป็น รายงาน ภ.ง.ด. 2, รายงาน ภ.ง.ด. 54 รายงาน ภพ. 36 และเอกสารอื่น ๆ เพิ่มเติมในอนาคตอีกด้วย เรียกได้ว่าคลอบคลุมเอกสารเกือบทั้งหมดที่ต้องใช้ยื่นกับสรรพากรเลยทีเดียว ทั้งหมดนี้จะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้แก่ธุรกิจรวมทั้งยังช่วยให้มีเวลาส่วนต่างไปคิดพัฒนาธุรกิจในด้านอื่น ๆ ได้อีกมากมาย เรียกได้ว่าเป็นต่อคู่แข่งเพิ่มขึ้นอีกหลายขั้นจากการมีผู้ช่วยและระบบบริหารองค์กรที่ดี

ภาษีเงินได้นิติบุคคล หรือ ภาษีนิติบุคคล คือ ภาษีอากรประเภทหนึ่งที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากรจัดเก็บจากเงินได้ของบริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล

เคยเจอปัญหาเกี่ยวกับภาษีในธุรกิจ SMEs ของคุณหรือไม่? ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการเตรียมเอกสารยื่นสรรพากร ช่วงแรก ๆ ซื้อของเข้าบริษัทแล้วใช้ชื่อตัวเองซื้อก็เสียภาษีไม่ถูก อาจจะเคยยื่นภาษีผิดแล้วโดนค่าปรับ เงินเพิ่ม บ้างล่ะศัพท์ทางภาษีก็แสนก็จะยุ่งยากบางครั้งอ่านไม่เข้าใจหรือเข้าใจผิดรึเปล่า? วันนี้ในบทความของเรามีคำตอบที่สรุปมาให้เข้าใจได้ง่าย ๆ เพื่อคุณ

การวางแผนภาษีนิติบุคคล (Tax Planning) คือ การกำหนดแนวทางในการเสียภาษีอากรให้น้อยที่สุด ให้อยู่ในความถูกต้อง ครบตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขของกฎหมายภาษีอากร

ธุรกิจต้องต้องทำอย่างไรในการวางแผนภาษีนิติบุคคล?

  1. ค้นคว้าความรู้เรื่องภาษี
  2. จะซื้อของเข้าบริษัท ต้องใช้ชื่อกิจการเท่านั้น
  3. หาวิธีลดหย่อนภาษี …เท่าที่จะมากได้
  4. โทรหาสรรพากร …อย่าขัดเขินเลย
  5. หาผู้ช่วยที่ดีในการจัดการภาษีในธุรกิจ SMEs ของคุณ

ก่อนที่จะทำการวางแผนภาษีนิติบุคคลได้นั้น ผู้ประกอบการต้องศึกษาความรู้เกี่ยวกับภาษีนิติบุคคลเสียก่อน

1. การวางแผนภาษีนิติบุคคล จำเป็นต้องรู้เรื่องภาษี
เริ่มจากภาษีนิติบุคคลมีอะไรบ้าง และต้องใช้เอกสารอะไรบ้างในการยื่นแก่สรรพากร

ภาษีเงินได้นิติบุคคล : คือ ภาษีจากกำไรสุทธิ (กำไรสุทธิ = รายได้ – ค่าใช้จ่าย) ที่บริษัทนิติบุคคลมีหน้าที่ต้องจ่ายหากเข้าเกณฑ์ที่กำหนด (รายงาน ภ.ง.ด. 50 และ รายงาน ภ.ง.ด. 51)

– รายงาน ภ.ง.ด. 50 คือ รายงานสำหรับรอบสิ้นปี โดยต้องยื่นแบบและชำระภาษีภายใน 150 วันนับจากวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี

– รายงาน ภ.ง.ด. 51 คือ รายงานสำหรับรอบครึ่งปี โดยต้องยื่นและชำระภาษีภายใน 2 เดือนนับจากวันสุดท้ายของ 6 เดือนแรกของรอบระยะเวลาบัญชี

ภาษีมูลค่าเพิ่ม : คือ ภาษีที่เก็บจากมูลค่าการซื้อขายและการให้บริการภายในประเทศ รวมถึงสินค้านำเข้า โดยจะเก็บเฉพาะผู้ประกอบการมีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี ปัจจุบันภาษีมูลค่าเพิ่มอยู่ที่ 7% (รายงานภาษีซื้อ, รายงานภาษีขาย, รายงาน ภพ. 30) และรายงานต่าง ๆ ต้องนำส่งสรรพากรภายในวันที่ 15 ของทุกเดือน

– รายงานภาษีซื้อ คือ เอกสารบันทึกจำนวนภาษีซื้อของกิจการที่ถูกผู้ประกอบการจดทะเบียนรายอื่นเรียกเก็บในแต่ละเดือนภาษีภาษีซื้อเกิดขึ้นในเดือนใดก็เป็นภาษีซื้อของเดือนนั้น

– รายงานภาษีขาย คือ เอกสารบันทึกจำนวนภาษีขายของกิจการที่เรียกเก็บจากลูกค้าในแต่ละเดือนภาษี ภาษีขายที่เกิดขึ้นในเดือนใดก็เป็นภาษีขายของเดือนนั้น

– รายงาน ภพ. 30 คือเอกสารสรุปภาษีซื้อ-ภาษีขาย ที่เจ้าของธุรกิจต้องเอาไว้ใช้ยื่นแสดงภาษีมูลค่าเพิ่มแก่กรมสรรพากรทุกเดือน ไม่ว่าจะมีรายการซื้อขายหรือไม่

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย : คือ ภาษีที่ถูกหักไว้ล่วงหน้า ซึ่งภาษีประเภทนี้ สามารถขอคืนได้ภายหลังผ่านการขอลดหย่อนตามเงื่อนไขต่าง ๆ (หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย,รายงาน ภ.ง.ด. 2, รายงาน ภ.ง.ด. 3, รายงาน ภ.ง.ด. 53, รายงาน ภ.ง.ด. 54 และ รายงาน ภพ. 36) แล้วนำส่งสรรพากรภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป

– รายงาน ภ.ง.ด. 1 คือ เอกสารที่กิจการต้องแจ้งพนักงานที่มีรายได้ถึงฐานที่ต้องเสียภาษีแล้วเท่านั้น เพื่อยื่นแก่สรรพากร

– รายงาน ภ.ง.ด. 2 คือ แบบยื่นภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่ต้องนำส่งกรมสรรพากร หากบริษัทมีรายจ่ายที่เป็นเงินได้ประเภท 40(3) และ 40(4)

เงินได้ประเภท 40(3) คือ เงินได้พึงประเมินในรูปของ ค่าลิขสิทธิ์ ค่าตอบแทนทรัพย์สินทางปัญญา หรือค่า Goodwill

เงินได้ประเภท 40(4) คือ ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นเงินได้ในรูปของดอกเบี้ย เงินปันผล

– รายงาน ภ.ง.ด. 3 คือ แบบยื่นเพื่อแจ้งการหักภาษี ณ ที่จ่าย ของนิติบุคคลที่ทำธุรกรรมกับบุคคลธรรมดา ที่เจ้าของธุรกิจ (นิติบุคคล) จะต้องหักออกจากค่าจ้างที่จ้างบุคคลภายนอกให้มาทำงานให้บริษัท

– รายงาน ภ.ง.ด. 53 คือ แบบยื่นเพื่อแจ้งการหักภาษี ณ ที่จ่าย ระหว่างนิติบุคคลด้วยกัน

– รายงาน ภ.ง.ด. 54 คือ แบบยื่นหักภาษี ณ ที่จ่ายทุกครั้งที่นิติบุคคลจ่ายเงินได้ประเภท 40(2) – (6) ให้กับนิติบุคคลที่ตั้งตามกฏหมายต่างประเทศจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายเพื่อนำส่งกรมสรรพากรโดยการหักภาษี ณ ที่จ่ายจะแบ่งเป็น 2 กรณีดังนี้

เงินได้ประเภท 40(2) – 40(6) หักภาษี ณ ที่จ่าย 15%
เงินได้ประเภท 40(4) – เงินปันผล หักภาษี ณ ที่จ่าย 10%
– รายงาน ภพ. 36 คือ แบบยื่นที่นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ที่พิเศษก็คือผู้จ่ายค่าสินค้าหรือบริการจะเป็นผู้ยื่นภาษีมูลค่าเพิ่มแทน เนื่องจากผู้ขายหรือผู้ให้บริการไม่ได้เข้ามาประกอบกิจการในประเทศไทย

– หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย คือ เอกสารที่ผู้จ่ายเงินที่มีหน้าที่หัก ณ ที่จ่าย ออกให้ผู้รับเงินเมื่อได้ทำการหักเงินบางส่วนไว้ตามข้อกำหนดของกรมสรรพากร โดยหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่ายนี้ต้องออกให้แก่ผู้รับเงิน 2 ฉบับที่มีข้อความตรงกัน

ภาษีธุรกิจเฉพาะ : คือ ธุรกิจซึ่งดำเนินการในประเทศไทยที่ไม่ได้รับการยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ คือธุรกิจประเภท ธนาคารพาณิชย์, ธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์, บริษัทประกันชีวิต, โรงรับจำนำ, กิจการประกอบการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ และบริษัทอสังหาริมทรัพย์ (รายงาน ภ.ธ.40) และรายงานต้องนำส่งสรรพากรภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ไม่ว่าจะมีรายรับในเดือนนั้นหรือไม่ก็ตาม
– รายงาน ภ.ธ. 40 คือ รายงานภาษีธุรกิจเฉพาะ สำหรับกลุ่มธุรกิจที่สรรพากรกำหนดไว้เท่านั้น

อากรแสตมป์ : คือ ภาษีที่จัดเก็บในรูปของดวงแสตมป์ที่ใช้สำหรับปิดบนเอกสารราชการและหนังสือสัญญาต่าง ๆ (แบบ อ.ส. 4) ปกติเสียอากรแสตมป์ได้ 3 วิธี คือ
– ติดอากรแสตมป์ทับบนกระดาษแล้วขีดคร่อม

– ติดแสตมป์ดุนบนกระดาษ (ปัจจุบันไม่เป็นที่นิยม)

– เสียอากรแสตมป์ด้วยเงินสด หรือแบบ อ.ส. 4 คือ แบบขอและอนุมัติให้เสียอากรแสตมป์ด้วยเงินสด เพราะกิจการต้องจ่ายค่าอากรแสตมป์เป็นจำนวนมาก

2. จะซื้อของเข้าบริษัท ต้องใช้ชื่อกิจการเท่านั้น

การวางแผนภาษีนิติบุคคล หากกิจการต้องซื้ออะไรเข้ามาเป็นค่าใช้จ่าย ควรออกในนามบริษัทเท่านั้น รวมทั้งต้องออก ใบกำกับภาษี ใบเสร็จรับเงิน หรือบิลเงินสดที่มี ชื่อ ที่อยู่ของผู้ขาย และต้องระบุชื่อบริษัทของเราด้วย เพื่อนำไปใช้เป็นหลักฐานค่าใช้จ่ายของบริษัทต่อไปได้ การขอเอกสารที่ถูกต้องจะช่วยให้กิจการสามารถนำค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการดำเนินงานของบริษัทมาหักค่าใช้จ่ายตอนจะยื่นภาษีได้ แต่ค่าใช้จ่ายนั้นต้องไม่เป็นค่าใช้จ่ายต้องห้ามที่สรรพากรกำหนดไว้ เช่น ค่าใช้จ่ายที่มีลักษณะเป็นของส่วนตัว การให้โดยสเน่หา ค่าใช้จ่ายที่ปลอมขึ้นมา เป็นต้น

3. หาวิธีลดหย่อนภาษี …เท่าที่จะมากได้

ลองศึกษาสิทธิประโยชน์ด้านการลดหย่อนภาษีให้ดี แล้วใช้สิทธิเหล่านั้นอย่างคุ้มค่า ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายการนำเอานวัตกรรมมาใช้ในองค์กร ค่าเทรนนิ่งพนักงาน ค่าประกันชีวิตพนักงาน ค่าจ้างผู้สูงอายุมาทำงานในองค์กร เป็นต้น ทั้งหมดนี้สามารถนำมาช่วยลดหย่อนภาษีธุรกิจ SMEs ของคุณได้ และช่วยให้คุณวางแผนภาษีได้อย่างรอบด้านครบถ้วน

4. โทรหาสรรพากร …อย่าขัดเขินเลย

หากคุณทำทุกวิธีแล้ว …แต่ยังเกิดปัญหาด้านภาษี อย่าอายเลยที่จะโทรหาสรรพากร พวกเขาเพียงจะช่วยแก้ปัญหาให้กับคุณ ซึ่งดีกว่าการยื่นภาษีไปแบบผิด ๆ แล้วต้องเสียค่าปรับ หรือเงินเพิ่มในภายหลังแน่นอน

Share the Post:

หัวข้อน่าสนใจ

dSURE Star

เน็กซัสฯ ได้รับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ดิจิทัล dSURE software จาก depa

skincare makeup oem cloud erp

ทำไมธุรกิจเครื่องสำอางค์ สกินแคร์ และ OEM ควรเลือกใช้ระบบ SAP Cloud ERP

Search
  • 00Days
  • 00Hours
  • 00Minutes
  • 00Seconds

Digital Transformation

dSURE Star

เน็กซัสฯ ได้รับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ดิจิทัล dSURE software จาก depa

skincare makeup oem cloud erp

ทำไมธุรกิจเครื่องสำอางค์ สกินแคร์ และ OEM ควรเลือกใช้ระบบ SAP Cloud ERP

Customer Story

โรงพยาบาลรวมใจรักษ์เพิ่มศักยภาพระบบ ERP – SAP Business One เชื่อมต่อค่าธรรมเนียมแพทย์ Doctor Fee เพิ่มความโปร่งใส และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน

Crown Seal PCL ยกระดับประสิทธิภาพของธุรกิจด้วย SAP Upgrade to RISE with SAP S/4HANA Cloud

Popular Contents

dSURE Star

เน็กซัสฯ ได้รับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ดิจิทัล dSURE software จาก depa

skincare makeup oem cloud erp

ทำไมธุรกิจเครื่องสำอางค์ สกินแคร์ และ OEM ควรเลือกใช้ระบบ SAP Cloud ERP

SAP Best Midmarket

เน็กซัสฯ คว้ารางวัลส่งคุณค่าแห่งปี Best Midmarket Partner จาก SAP