Search

ภาพรวมเทรนด์เทคโนโลยี ปี 2024 กับการเติบโตของระบบ SAP ERP และ RISE with SAP S/4HANA

SAP ระบบ ERP

ภาพรวมเทรนด์เทคโนโลยี ปี 2024 กับการเติบโตของระบบ SAP ERP และ RISE with SAP S/4HANA

SAP S/4HANA ระบบ ERP ขนาดใหญ่จะไม่ใช่เครื่องมือที่จำเป็นเฉพาะสำหรับธุรกิจอุตสาหกรรมขนาดใหญ่อีกต่อไป ในปี 2023 เราจะเห็นแนวโน้มที่อุตสาหกรรมขนาดกลาง ตระหนักถึงคุณค่าของ SAP ERP อัจฉริยะ อย่าง SAP S/4HANA  เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และหาวิธีปรับใช้ SAP S/4HANA เข้าสู่ระบบนิเวศธุรกิจ รวมถึงปรับใช้เทคโนโลยีต่างๆ เช่น Internet of Things (IoT) การเรียนรู้ของเครื่อง (ML) ระบบอัตโนมัติ และอีกมากมาย ในบทความนี้ เราจะพาไปดูแนวโน้ม เทรนด์เทคโนโลยีในปี 2023 เพื่อให้ธุรกิจเตรียมรับมือกับการแข่งขันที่ร้อนแรงที่จะเกิดขึ้นในปีนี้

บทสรุปของปี 2023 ด้านธุรกิจกับเทคโนโลยี

ปี 2023 เป็นปีที่ซับซ้อน และเผชิญกับความท้าทายหลายประการ ทั้งความขัดแย้งที่เกิดจากสงคราม ปัญหาในห่วงโซ่อุปทาน ผลมาจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น การร่วงลงของราคาหุ้น และคริปโต การปลดพนักงานจำนวนมากในบริษัทเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ ทำให้การเข้าสู่กระบวนการสู่ดิจิทัลถูกเร่งให้เร็วขึ้น ส่งผลให้บริษัทต่างๆ ต้องเร่งปรับตัวให้สอดรับกับพฤติกรรมของผู้บริโภค หรือลูกค้าที่เป็นดิจิทัลมากขึ้น และยังต้องเน้นไปที่การเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการและลดต้นทุนอีกด้วย

ความท้าทายสำคัญของธุรกิจ และอุตสาหกรรม ในปี 2024 (2567)

เมื่อวิเคราะห์จากปี 2023 ที่ผ่านมา ทำให้เกิดความแน่ชัดว่า เทรนด์เทคโนโลยี ปี 2024 แนวโน้มที่โดดเด่นสำหรับบริษัทต่างๆ คือการเร่งกระบวนการให้ธุรกิจปรับตัวเข้าสู่การบริหารและดำเนินธุรกิจด้วยเป็นดิจิทัล โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสำหรับสนับสนุนการทำงานด้วยระบบอัตโนมัติมากขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการดำเนินธุรกิจ และค้นหาแนวทางลดต้นทุน ซึ่งเชื่อว่าเทคโนโลยีดิจิทัลจะเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้ธุรกิจเร่งฟื้นตัว และก้าวข้ามความท้าทายต่างๆ ดังนี้

  • การขาดแคลนบุคลากร
ภายในปี 2573 คาดว่าจะมีตำแหน่งงานว่าง 85 ล้านตำแหน่ง เนื่องจากขาดแรงงานที่มีทักษะ และความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ผลที่ตามมา คือเมื่อขาดแรงงานที่เชี่ยวชาญก็จะทำให้เกิดอุปสรรค สำหรับธุรกิจที่ต้องปรับเปลี่ยนสู่การดำเนินธุรกิจด้วยดิจิทัล อาจประสบปัญหาความล่าช้า หรืออุปสรรคมากมายในการผลักดันธุรกิจ เข้าสู่การแข่งขันที่มีดิจิทัลเป็นแกนหลัก
  • ความยั่งยืน
หนึ่งในสิ่งที่กลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมต้องให้ความสำคัญ คือเรื่องสิ่งแวดล้อม และความยั่งยืน เป้าหมายคือ ทำอย่างไรให้เกิดการใช้พลังงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นเทรนด์เทคโนโลยีที่หลายๆ บริษัทต้องทำความเข้าใจ นอกจากนี้ ยังเชื่อว่าความก้าวหน้าในการพัฒนาซอฟต์แวร์การจัดการการปล่อยมลพิษ และเทคโนโลยีสีเขียวอื่นๆ จะมีความสำคัญในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า
  • ปรับปรุงการรักษาความปลอดภัย
ด้วยการเติบโตอย่างต่อเนื่องของ IoT, คลาวด์คอมพิวติ้ง และแนวโน้มที่แง่มุมต่างๆ ในชีวิตประจำวันถูกปรับเปลี่ยนเป็นดิจิทัลมากขึ้นเรื่อยๆ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปกป้องข้อมูล ทั้งสำหรับองค์กรและบุคคล บริษัทจึงต้องมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์เนื่องจากการโจมตีทางไซเบอร์อาจส่งผลให้เกิดการสูญเสียทางการเงิน และความไว้วางใจของลูกค้า
  • การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล
ปี 2024 จะเป็นปีแห่งความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ ดังนั้นบริษัทต่างๆ จะตัองมองหากลยุทธ์ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจ สร้างความได้เปรียบคู่แข่งให้มากขึ้น หรือทำอย่างไรให้คงประสิทธิภาพ แต่ลดต้นทุนให้ได้มากที่สุดนั่นเอง จุดนี้จึงทำให้กระบวนการต่างๆ จะถูกแปลงเป็นดิจิทัลมากขึ้นเรื่อยๆ การโยกย้ายไปยังระบบคลาวด์จะเพิ่มขึ้น กระบวนการต่างๆ จะเป็นแบบอัตโนมัติ และบริษัทจำนวนมากขึ้นจะโยกย้ายไปยังรูปแบบธุรกิจของ Everything as a Service (XaaS) เป็นเทรนด์เทคโนโลยีที่สำคัญที่ช่วยทำให้ธุรกิจเติบโตแบบก้าวกระโดด
  • การจ้างบุคคลภายนอก
ภายในปี 2024 (2567) ความต้องการสำหรับบทบาทการพัฒนาซอฟต์แวร์ คาดว่าจะเพิ่ม ขึ้น 70% อีกทั้งการเร่งกระบวนปรับปรุงและเพิ่มศักยภาพธุรกิจให้รองรับการทำงานในรูปแบบดิจิทัลยังต้องใช้บุคลากรไอทีที่เชี่ยวชาญ ซึ่งแน่นอนว่าจะทำให้ต้นทุนทางเทคโนโลยีสูงขึ้น เพื่อลดต้นทุนส่วนนี้ หลายๆ บริษัทจึงเลือกการจ้างบุคคลภายนอก (Outsource) ที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญเข้ามาดูแลในระยะสั้น ทีละ Project หรือ เฉพาะส่วนงานที่จำเป็น

การเตรียมพร้อมสำหรับอนาคต ด้วย Intelligent ERP

ด้วยสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวล าและข้อมูลที่ซับซ้อนมากขึ้น องค์กรต่างๆ จึงต้องการเทคโนโลยีที่ทีประสิทธิภาพและรองรับการดำเนินธุรกิจรอบด้าน ปรับกระบวนการดำเนินธุรกิจเป็นรูปแบบดิจิทัล และเป็นองค์รวมเพื่อให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขัน มีข้อมูลที่สำคัญในประกอบการวางแผนธุรกิจที่ถูกทิศทาง ซึ่งต้องอาศัยข้อมูลที่ถูกต้องและรวดเร็ว  อย่างเช่น คุณกำลังเสียเวลาในการรวบรวมข้อมูลจากระบบที่ขาดการเชื่อมต่อด้วยตนเอง หรือรอรายงานแต่ละรายการจากฝ่ายต่างๆ นั่นหมายความว่าคุณกำลังดำเนินธุรกิจ และตัดสินใจด้วยข้อมูลที่ล้าสมัย และอาจส่งผลทำให้บริษัทเสียเปรียบในการแข่งขัน การผสานรวมเทคโนโลยีการวางแผนทรัพยากรองค์กร หรือ Intelligent ERP ช่วยให้ธุรกิจเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็วและรวบรวมข้อมูลเชิงลึกที่สำคัญในทุกด้านของธุรกิจ โซลูชันการจัดการธุรกิจที่ครอบคลุมจะเก็บข้อมูลแบบเรียลไทม์จากทุกแผนกในบริษัทของคุณ เข้าถึงข้อมูลแบบเรียลไทม์ คุณจะเห็นภาพได้ชัดเจนและตัดสินใจได้อย่างชาญฉลาด องค์กรที่ยังไม่ได้เปลี่ยนไปสู่ระบบ ERP บนระบบคลาวด์นั้นมีความเสี่ยงที่จะตามหลังคู่แข่ง

SAP ERP ปี 2024

นอกจากจะเข้าใจความสามารถของ ERP แล้ว การเลือก ERP ที่เหมาะสมในปี 2024 เพื่อรับกับเทรนด์เทคโนโลยีใหม่ๆ ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญต่อธุรกิจ ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องไปในทุกส่วนงานของการดำเนินธุรกิจ ปัจจุบันมีตัวเลือก ERP มากมาย แต่สำหรับ ERP ที่บริษัทชั้นส่วนใหญ่ เลือกคือ SAP ปัจจุบัน SAP ERP เวอร์ชั่นล่าสุด ชื่อว่า SAP S/4HANA เป็นระบบ SAP ERP อัจฉริยะที่ทำงานบน HANA ซึ่งเป็นฐานข้อมูลในหน่วยความจำ ไม่เหมือนกับผลิตภัณฑ์ SAP อื่นๆ S/4HANA สามารถทำงานบน SAP HANA เท่านั้น การให้การวิเคราะห์ตามเวลาจริงแบบฝังและการประมวลผลข้อมูลธุรกิจจำนวนมาก หัวใจหลักของ SAP S/4HANA คือการจัดหาเทคโนโลยี ERP ที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้นให้กับองค์กร มี SAP Fiori ที่นำเสนออินเทอร์เฟซผู้ใช้ที่เรียบง่ายยิ่งขึ้น

7 แนวโน้ม ERP ปี 2024

ERP ที่จะรองรับความต้องการของธุรกิจ รับการเปลี่ยนแปลงในปี 2024 ต้องมีฟังก์ชันเหล่านี้ 
  • การวางแผนและการวิเคราะห์ทางการเงิน
เมื่อพิจารณาถึงอัตราเงินเฟ้อ จะเห็นแนวโน้มว่า บริษัทลงทุน ERP ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อปรับใช้ด้านการเงินและการบัญชีเชิงลึก เช่น การมองเห็นและการวิเคราะห์กระแสเงินสด เพื่อให้เข้าใจความต้องการเงินสดในไม่กี่วินาที การวางแผนและการวิเคราะห์ทางการเงิน ดำเนินการคาดการณ์สภาพคล่องแบบเรียลไทม์ คาดการณ์ตามเวลาจริง และทำให้การจัดการการชำระเงินง่ายขึ้น สนับสนุนการตัดสินใจทางธุรกิจที่สำคัญของบริษัทและสถานะทางการเงินโดยรวม
  • การจัดการสินค้าคงคลัง
ในช่วงการระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงาน และการเงินอย่างรุนแรง ซ้ำเติมความท้าทายหลายประการ เช่น การหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทาน การขาดแคลนอุปทาน อุปสงค์ลดลง ความท้าทายในการจัดวางสินค้าคงคลัง เป็นต้น บริษัทต่างๆ ลงทุนใน ERP เพื่อพัฒนาฟังก์ชันการวางแผนห่วงโซ่อุปทานที่ครบวงจร และรองรับการเติบโตด้านสินค้าคงคลังขององค์กร
  • AI, ML และ IoT จะปรับปรุง ERP
หมดยุคที่จะต้องกังวลว่าปัญญาประดิษฐ์ (AI) จะเข้ามาแทนที่แรงงาน บริษัทที่ชาญฉลาด จะต้องเดินไปพร้อมกับระบบอัตโนมัติอัจฉริยะ ปรับกระบวนการให้เป็นดิจิทัล ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีใหม่ในการบริหารธุรกิจ เช่น ML, AI และ Internet of Things (IoT)
  • Cloud Adoption
บริษัทต่าง ๆ กำลังก้าวกระโดดเข้าสู่วงการคลาวด์อย่างรวดเร็วกว่าที่คาดไว้ ด้วยความสามารถในการเข้าถึงทุกที่ทุกเวลาบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ เช่น โทรศัพท์และแท็บเล็ต เป็นต้น มีรายงานว่า การใช้จ่ายซอฟต์แวร์ในตลาดระดับกลางทั่วโลกในปี 2023 คาดว่า การใช้ระบบคลาวด์คิดเป็น 76% ของการใช้จ่ายซอฟต์แวร์ทั้งหมด และภายในปี 2569 คลาวด์คาดว่าจะเข้าใกล้ 86% ของการใช้จ่ายในตลาดระดับกลางทั้งหมด
  • Mobile ERP กลายเป็นผู้นำในอุตสาหกรรม
ในโลกการทำงานแบบผสมผสานและระยะไกล บริษัทต่างๆ กำลังพิจารณา ERP บนมือถือเพื่อเข้าถึงข้อมูลจากทุกที่ ทุกเวลา แอป Mobile ERP ได้รับการออกแบบมาให้ทำงานนอกสถานที่ได้อย่างสะดวก มอบโซลูชันที่พร้อมสำหรับการขาย การกระจาย การจัดส่ง การจัดการคลังสินค้า และอื่นๆ ช่วยอำนวยความสะดวกในการอัปเดตสินค้าคงคลัง จุดขาย (POS) การอนุมัติการซื้อ และอื่นๆ ได้แบบเรียลไทม์
  • โซลูชันแบบครบวงจรที่สมบูรณ์แบบ
แทนที่จะใช้แอปพลิเคชันซอฟต์แวร์แบบแยกเพื่อบริหารแผนก ปัจจุบันธุรกิจมุ่งเน้นการรวมข้อมูลแบบรวมศูนย์ และเชื่อมต่อซิงก์ระบบอื่นๆ ได้ ระบบ ERP ในปัจจุบันเต็มไปด้วยฟังก์ชันการทำงานที่หลากหลาย ประกอบด้วยเครื่องมือธุรกิจ การจัดการลูกค้าสัมพันธ์ (CRM) อีคอมเมิร์ซ การเชื่อมต่อกับ Supplier เครือข่ายธุรกิจ เป็นต้น ซึ่งจะช่วยลดระยะเวลา ควบคุมต้นทุน และเพิ่มความได้เปรียบในธุรกิจ
  • การโต้ตอบระหว่างมนุษย์กับ ERP
ERP มี UX ของรายการเมนูหลายร้อยรายการและฟิลด์ที่พึ่งพากันนับพัน อย่างไรก็ตาม สิ่งที่บริษัทแสวงหาในปัจจุบันคือ ERP ที่มีการวิเคราะห์แบบอัจฉริยะ จัดกระบวนการได้อย่างอัตโนมัติ และสามารถมอบคำแนะนำให้กับผู้ใช้ได้ เสมือนโต้ตอบกับมนุษย์

กรณีศึกษาสำคัญ ตัวอย่างบริษัทผู้ประสบความสำเร็จด้านการวางระบบ RISE with SAP S/4HANA Cloud เพื่อนำไปใช้สนับสนุน และเพิ่มศักยภาพการบริหารธุรกิจ

เน็กซัสฯ ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านการให้คำปรึกษา และวางระบบซอฟต์แวร์ Intelligent ERP และ Supply Chain ให้กับบริษัทชั้นนำของไทยมากว่า 25+ ปี จึงอยากแชร์ตัวอย่างกลุ่มบริษัทเซ้าท์ ซิตี้ กรุ๊ป ที่ให้ความไว้วางใจ เน็กซัสฯ ในการให้คำปรึกษา และวางระบบ Intelligent ERP – RISE with SAP S/4HANA Cloud เพื่อนำไปใช้ในการสนับสนุน และเพิ่มศักยภาพการบริหารธุรกิจรูปแบบดิจิทัล เซ้าท์ ซิตี้ กรุ๊ป กลุ่มบริษัทเคมีภัณฑ์ชั้นนำ มาตรฐานระดับสากล ก่อตั้งมาอย่างยาวนานตั้งแต่ปี 2519 ประกอบด้วย หจก.เซาท์ซิตี้ ซัพพลาย ผู้นำเข้าสารเคมีมาตรฐานสากลและคุณภาพสูงจากหลากหลายอุตสาหกรรมทั่วโลก, บริษัท เซ้าท์ ซิตี้ ปิโตรเคม จำกัด ผู้ผลิตเคมีภัณฑ์ชั้นนำของประเทศไทย และ บริษัท เซ้าท์ ซิตี้ โพลีเคม จำกัด ผู้จัดหาวัตถุดิบและวัสดุ เพื่อให้บริการแก่อุตสาหกรรมก่อสร้าง อุตสาหกรรมโพลียูรีเทน อุตสาหกรรมเคมีพลาสติก และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ได้ ตัดสินใจเลือกใช้บริการวางระบบ RISE with SAP ที่ไม่ใช่แค่การ Implement ระบบ SAP ERP S/4HANA แต่ยังรวมถึงการเปลี่ยนองค์กรให้เป็น Intelligent Enterprise แบบครบวงจร ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสมัยใหม่ ปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อที่จะรักษา Core Value ขององค์กรที่ต้องการเป็นเลิศและเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ ธุรกิจสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับ RISE with SAP S/4HANA Cloud เพิ่มเติมได้ที่นี่

เลือก SAP S/4HANA Cloud กับ NEXUS ที่ปรึกษาธุรกิจครบวงจร พร้อมให้บริการทั้ง Upgrade ระบบ และบริการ RISE with SAP

บริษัท เน็กซัส ซิสเท็ม รีซอร์สเซส จำกัด เป็นพาร์ทเนอร์กับ SAP อย่างเป็นทางการ ในระดับ SAP Gold Partner มีทีมผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์และได้รับใบรับรองจาก SAP Global Certification อีกทั้งมีประสบการณ์ในการให้คำปรึกษาและวางระบบธุรกิจมากกว่า 25+ ปี
  • เน็กซัสฯ เป็น Long-term Business Partner ที่พร้อมเคียงข้างธุรกิจในระยะยาว นำเสนอโซลูชันที่ตอบสนองต่อความต้องการทางธุรกิจแบบครบวงจร
  • มีประสบการณ์ด้านการให้คำปรึกษาและวางระบบ SAP ERP S/4HANA แบบครบวงจร และมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ ทั้งการอัปเกรดระบบ และ บริการ RISE with SAP
  • ให้บริการแบบ End-to-End ตั้งแต่การให้คำปรึกษาทางธุรกิจไปจนถึงการดำเนินการวางระบบ และ Maintenance Support โดยทีมงานมืออาชีพและมีประสบการณ์
  • มีโซลูชันและบริการเสริมพิเศษที่สนับสนุน การทำงานเชื่อมต่อกับแพลตฟอร์มต่าง ๆ เช่น Social Media, E-Commerce, Marketplace, POS, QR Code, RFID, Sensor, E-Tax, E-Filing, ขนส่ง, ธนาคาร รวมถึงอุปกรณ์ IoT ต่าง ๆ เป็นต้น
  • มีความเชี่ยวชาญในโซลูชันธุรกิจมากกว่า 10 อุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมการผลิต ธุรกิจการจัดจำหน่าย ธุรกิจการค้าปลีก-ค้าส่ง และธุรกิจการให้บริการ
  • เน็กซัสฯ เป็นพาร์ทเนอร์กับ SNP ที่นำเสนอโซลูชัน CrystalBridge® เจ้าเดียวในไทย ให้ธุรกิจสามารถ Move to SAP S/4HANA แบบ Near-Zero Downtime และ Data Selective ได้อย่างรวดเร็ว และปลอดภัย

สนใจบริการหรือต้องการปรึกษาโซลูชัน ติดต่อได้ที่

เว็บไซต์ www.nexus-sr.com อีเมล mkt.th@nexus-sr.com  Line Official Account @nexus-sr.com หรือ https://lin.ee/fopYCxl โทรศัพท์ 02-091-1900
Share the Post:

หัวข้อน่าสนใจ

เริ่มทดลองใช้งาน