Search
Search

6 ปัญหาปวดหัวในธุรกิจ ระบบ ERP ช่วยแก้ปัญหาได้ พร้อมเพิ่มประสิทธิภาพในองค์กร

SAP S/4HANA

มีหลายธุรกิจที่มีผลิตภัณฑ์ที่ดี มีบริการที่ยอดเยี่ยม แต่ไม่สามารถทำกำไรได้ หรือไม่เห็นการเพิ่มขึ้นของยอดขาย โดยเฉพาะธุรกิจที่ต้องบริหารจัดการคลังสินค้า ไม่สามารถบริหารสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ และธุรกิจยังต้องเผชิญกับความท้าทายใหม่ ๆ ทั้งการแข่งขันในตลาดที่เพิ่มสูงขึ้น ความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนไป การมาของเทคโนโลยีใหม่ๆ ทำให้ล้าหลังกว่าคู่แข่งในตลาด ปัญหาและความท้าทายเหล่านี้ ระบบ ERP SAP S/4HANA สามารถช่วยแก้ปัญหา และส่งเสริมให้ธุรกิจสามารถปรับกระบวนการได้ดียิ่งขึ้น ในบทความนี้ จะพาไปทำความเข้าใจว่า ระบบ ERP ช่วยแก้ปัญหา และเพิ่มประสิทธิภาพองค์กรได้อย่างไร

6 ปัญหาปวดหัวในธุรกิจ ที่สามารถแก้ได้ด้วย ระบบ ERP

1. ข้อมูลแบบแยกส่วน เกิดความซ้ำซ้อนของข้อมูล

นี่อาจเป็นปัญหาใหญ่ที่สุดของทุกบริษัทในทุกวันนี้ ข้อมูลที่แยกจากกันทั่วทั้งบริษัท ทำให้การทำงานร่วมกันเกิดความไม่ลื่นไหล มีข้อมูลที่ซ้ำซ้อน ข้อมูลไม่ซิงก์กันแบบเรียลไทม์ เกิดความล่าช้าในการขอข้อมูล หรือมีโอกาสที่ข้อมูลไม่ตรงกันสูง เช่น ฝ่ายคลังสินค้า มีจำนวนสินค้า 1,000 รายการ แต่ฝ่ายขายมีข้อมูลจำนวนสินค้า 1,200 รายการ ซึ่งไม่อัปเดตกับฝ่ายคลัง ทำให้เกิดโอกาสสื่อสารกับลูกค้าผิดพลาด เป็นต้น อีกทั้งฝ่ายบริหารและผู้มีอำนาจตัดสินใจ ก็จะไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลในทั้งหมดได้ กว่าจะได้ข้อมูลจากแต่ละแผนกต้องใช้เวลานาน

ระบบ ERP SAP S/4HANA Cloud

 

ระบบ ERP จะรวมข้อมูลบริษัททั้งหมดไว้ในแพลตฟอร์มเดียวแบบรวมศูนย์ นำเสนอมุมมองแบบองค์รวม เข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ผ่าน Dashboard ข้อมูลแต่ละแผนกจะซิงก์กันแบบเรียลไทม์ และยังช่วยลดข้อผิดพลาดทั้งในการสื่อสาร การทำรายงาน การขอข้อมูล การป้อนข้อมูลซ้ำซ้อน เป็นต้น

2. การทำงานซ้ำๆ

ยิ่งบริษัทมีขนาดใหญ่เท่าใด ข้อมูลก็จะยิ่งมีมากขึ้นเท่านั้น โดยปกติแล้วในบางจุด ธุรกิจจะพิจารณาจ้างคนเพิ่มเพื่อจัดการกับภาระงานใหม่ แต่ความเป็นจริงแล้ว ภาระงานหลายๆ จุด โดยเฉพาะงานที่ต้องทำซ้ำๆ แบบ Manaul งานเอกสารต่างๆ ไม่จำเป็นต้องเพิ่มพนักงานเสมอไป

ระบบ ERP ช่วยให้ธุรกิจสามารถจัดระเบียบงานขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ เข้ามาช่วยทำงานซ้ำๆ ให้เป็นอัตโนมัติได้ เช่น ERP สามารถสร้างใบสั่งซื้อและใบแจ้งหนี้ ได้แบบอัตโนมัติ ช่วยลดข้อผิดพลาดของมนุษย์ ประหยัดเวลาในการทำงาน และลดภาระงานที่ไม่จำเป็น

3. ปัญหาสินค้าคงคลัง

ปัญหาหลักในอุตสาหกรรมการผลิต ผู้ค้าปลีก-ส่ง หรือ ซื้อมาขายไป คือการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง ที่จะต้องเผชิญกับความท้าทายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ปัญหาสินค้าขาด-ล้นสต๊อก สินค้าคงคลังล้าสมัย การจัดการพื้นที่คลังสินค้าไม่มีประสิทธิภาพ ใช้โซลูชันซอฟต์แวร์แยกกัน ข้อมูลไม่รวมเข้ากับฝ่ายผลิตและฝ่ายขาย ทำให้เกิดโอกาสข้อมูลไม่ถูกต้อง การจัดการคำสั่งซื้อที่ผิดพลาด

ระบบ ERP ช่วยให้ธุรกิจจัดการกระบวนการสินค้าคงคลังที่ซับซ้อน โดยใช้ข้อมูลตามเวลาจริง มีข้อมูลที่ถูกต้อง สามารถรักษาสมดุลของสต๊อก บริหารจัดการตำแหน่งที่อยู่ของสินค้า รับเข้า-จ่ายออกได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มความคล่องตัวในการจัดการสินค้าคงคลัง ควบคุมโลจิสติกส์ การดำเนินงาน การเงิน และสินค้าคงคลังได้จากระบบเดียวที่ช่วยลดข้อผิดพลาดและปรับปรุงประสิทธิภาพ

4. การตัดสินใจไม่แม่นยำ

การตัดสินใจในธุรกิจ ไม่ว่าจะตัดสินใจในกระบวนการทำงาน จัดซื้อ ฝ่ายขาย รวมถึงการคาดการณ์อนาคต จะต้องใช้ข้อมูลในการประกอบการตัดสินใจ ธุรกิจที่มีข้อมูลที่ซับซ้อน ใช้หลายซอฟต์แวร์แยกกัน ไม่สามารถมองเห็นข้อมูลแบบองค์รวมได้ จะนำไปสู่การตัดสินใจที่ไม่แม่นยำ เนื่องจากไม่รู้สถานการณ์จริงของบริษัท

ระบบ ERP เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้การตัดสินใจแม่นยำ เพราะระบบ ERP จะรวมข้อมูลจากทุกฝ่าย มองเห็นข้อมูลจากต้นทาง ถึงปลายทางได้ทั้งกระบวนการ ข้อมูลแต่ละส่วนจะเชื่อมต่อกันอัตโนมัติ เข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็วผ่านแดชบอร์ด อีกทั้งยังสามารถปรับแต่งแดชบอร์ดให้แสดงสิ่งที่ต้องการได้อีกด้วย

5. การติดตามลูกค้า

ลูกค้าคือส่วนสำคัญของธุรกิจ หลายๆ บริษัทมักจะพบปัญหาการการจัดการไปป์ไลน์ของลูกค้าไม่แม่นยำ และไม่มีประสิทธิภาพ เช่น การจัดการคำสั่งซื้อ การให้บริการลูกค้าเกิดความล่าช้า การจัดลำดับความสำคัญของลูกค้าไม่ถูกต้อง ทำให้เสียโอกาสในการขาย หรือทำให้ลูกค้าเกิดความไม่พอใจในการบริการ เป็นต้น

ระบบ ERP มีโมดูลในการบริหารจัดการลูกค้า รวมข้อมูล และรายละเอียดทั้งหมด เช่น การสื่อสารกับลูกค้า ประวัติการสั่งซื้อ ความคิดเห็นของลูกค้า เป็นต้น และการแก้ปัญหา การสอบถามจะถูกบันทึกและพร้อมใช้งานในที่เดียว ช่วยเพิ่มมาตรฐานการดำเนินการ และเพิ่มความพึงพอใจของลูกค้าได้

6. ไม่เห็นความผิดปกติทางการเงิน

การเงิน และกระแสเงินสดเป็นหัวใจหลักของบริษัท อุปสรรคสำคัญของการบริหารการเงิน คือไม่รู้สถานการณ์การเงินของบริษัท เนื่องจากข้อมูลฝ่ายขาย จัดซื้อ บัญชี ไม่เชื่อมต่อกันโดยอัตโนมัติ ทำให้ข้อมูลล่าช้า มองไม่เห็นความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น บริหารกระแสเงินสดได้ไม่ดี มองไม่เห็นค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ทำให้ไม่สามารถบริหารจัดการได้

ระบบ ERP เพิ่มความคล่องตัวทางธุรกิจด้วยการวางแผนทางการเงิน การจัดทำงบประมาณ และการคาดการณ์ทั่วทั้งองค์กร เชื่อมโยงกระบวนการทางธุรกิจจำนวนมากเข้าด้วยกัน สามารถเก็บข้อมูลเกี่ยวกับคำสั่งซื้อ ต้นทุนการผลิต และการจัดส่ง สามารถวิเคราะห์ข้อมูลและจัดทำรายงานเกี่ยวกับผลลัพธ์ทางการเงินขององค์กรอย่างละเอียด

ทำไมธุรกิจชั้นนำส่วนใหญ่เลือกใช้ระบบ ERP SAP S/4HANA Cloud

 

การพิจารณาซอฟต์แวร์ ERP จะต้องคำนึงถึงความสามารถของระบบ ความสามารถในการปรับขนาดรับองค์กรในอนาคต มีโซลูชันที่ตอบโจทย์ความต้องการ เข้ากับกระบวนการการทำงาน และมีความน่าเชื่อถือ บริษัทชั้นนำต่างๆ ลงทุนในการวางระบบ ERP – SAP S/4HANA เพื่อใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีบนคลาวด์ขั้นสูง ช่วยให้กระบวนการมีความคล่องตัว และความสามารถในการวิเคราะห์แบบบูรณาการ ซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจต่างๆ เข้าใจลูกค้า การดำเนินงาน และตลาดของธุรกิจตนได้ดียิ่งขึ้น

อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้บริษัทต่างๆ เลือกลงทุนในการวางระบบ ERP – SAP S/4HANA คือต้องการเข้าถึงคุณสมบัติและความสามารถล่าสุด เช่น ความสามารถในการปรับขนาดที่เพิ่มขึ้น ข้อมูลเชิงลึก การวิเคราะห์ทางธุรกิจ การรักษาความปลอดภัยชั้นสูง และโซลูชันเทคโนโลยีระดับสูง รวมถึงเครือข่ายชั้นนำของ SAP ซึ่งรองรับการเติบโตของธุรกิจและปูทางสำหรับการผสานรวมเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่ ซึ่งรวมถึง ปัญญาประดิษฐ์ (AI) แบบฝังตัว แมชชีนเลิร์นนิง (ML) บนระบบฐานข้อมูล SAP HANA ในหน่วยความจำ และการวิเคราะห์ตามเวลาจริง ช่วยให้บริษัทต่างๆ สามารถลดต้นทุน ลดค่าใช้จ่าย ปรับปรุงการบริการลูกค้า ปรับปรุงประสิทธิภาพของธุรกิจ และเพิ่มความได้เปรียบในการแข่งขัน นำหน้าคู่แข่ง

ภาพรวมของระบบ ERP – SAP S/4HANA Cloud

SAP S/4HANA เป็น Business Suite รุ่นที่ 4 ของ SAP และมีส่วนประกอบสำคัญ 3 ส่วน

  1.  ฐานข้อมูล SAP HANA : ฐานข้อมูลในหน่วยความจำ ช่วยให้การเรียกดูข้อมูล การประมวลผลข้อมูลจำนวนมากทำได้อย่างรวดเร็ว
  2. ชุดระบบบริหารจัดการธุรกิจ (ERP) SAP S/4HANA Cloud : Business Suite 7 เวอร์ชันอัปเดตนี้สร้างขึ้นจากระบบฐานข้อมูล SAP HANA
  3. SAP Fiori :เครื่องมือช่วยออกแบบ User experience (UX) อินเทอร์เฟซ รูปแบบใหม่ของ SAP ที่มาทำงานแทน SAP GUI โดย เครื่องมือ SAP Fiori นี้ จะทำงานผ่าน web base ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้มากขึ้น รองรับการทำงานบนทุกอุปกรณ์ไม่ว่าจะเป็น PC, Smart Phone หรือ Tablet ใช้งานง่าย ไม่ซับซ้อน สร้างความสะดวก ความพึ่งพอใจ และประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้ใช้งานได้ยอดเยี่ยม รวมถึงยืดหยุ่น ในการรองรับ Dashboard Analysis Report ต่างๆ

SAP S/4HANA Cloud เป็นแอปพลิเคชันทางธุรกิจได้รับการออกแบบให้ทำงานบนฐานข้อมูล SAP HANA เท่านั้น นอกจากนี้ยังลดความซับซ้อนของแอปพลิเคชันและปรับปรุงประสบการณ์ผู้ใช้ด้วย SAP Fiori ซึ่งเป็นการอัปเกรดที่สำคัญสำหรับชุดธุรกิจปัจจุบัน โดยธุรกิจสามารถติดตั้งระบบ ERP – SAP S/4HANA Cloud ได้ทั้ง ในระบบคลาวด์สาธารณะ (Public Cloud) และ ระบบคลาวด์ส่วนตัว (Private Cloud)

 

ทำไมระบบ ERP – SAP S/4HANA Cloud ถึงดีกว่า SAP ECC ?

ผู้ที่ใช้ SAP ECC อยู่แล้ว หรือกำลังพิจารณาซอฟต์แวร์ ERP จาก SAP จะต้องพบกับคำถามว่าทำไมต้องเลือก SAP S/4HANA Cloud แทนการพิจารณา SAP ECC ส่วนหนึ่งมาจาก SAP ได้มีการประกาศสิ้นสุดการสนับสนุน SAP ECC 6.0 ภายใน ปี ค.ศ. 2027 ทำให้ SAP SAP S/4HANA Cloud กลายเป็น ERP เวอร์ชันหลักของ SAP

นอกจากนี้ SAP S/4HANA Cloud ยังดีกว่า เวอร์ชัน SAP ECC เนื่องจากมีข้อได้เปรียบมากมายที่สามารถช่วยให้ธุรกิจมีความคล่องตัวมีประสิทธิภาพและมุ่งเน้นที่ลูกค้ามากขึ้น

  1. SAP S/4HANA Cloud เป็นซอฟต์แวร์การวางแผนทรัพยากรองค์กร (ERP) รุ่นล่าสุดของ SAP ได้รับการปรับปรุงประสิทธิภาพต่อยอดจากเวอร์ชั่นเก่า
  2. SAP S/4HANA Cloud ใช้ฐานข้อมูลในหน่วยความจำ SAP HANA ซึ่งเป็น ฐานข้อมูลในหน่วยความจำ (In-Memory Database) ที่มีความเร็วกว่า Database ทั่วไปถึง 3,600 เท่า สามารถช่วยสนับสนุนธุรกิจในการประมวลผลข้อมูลจำนวนมหาศาลได้ภายในเสี้ยววินาที เพื่อให้ธุรกิจขับเคลื่อนด้วยข้อมูลที่แม่นยำ ได้แบบเรียลไทม์
  3. SAP S/4HANA Cloud มีการผสานรวมมากกว่า SAP ECC ช่วยให้ข้อมูลและกระบวนการเป็นหนึ่งเดียวและมีความคล่องตัวมากขึ้น
  4. SAP S/4HANA Cloud เร็วกว่า และตอบสนองได้ดีกว่า SAP ECC และยังเป็นมิตรกับผู้ใช้และใช้งานง่ายกว่าด้วย
  5. SAP S/4HANA Cloud มีความสามารถในการวิเคราะห์เชิงคาดการณ์ที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถคาดการณ์ความต้องการของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น
  6. SAP S/4HANA Cloud นำเสนอสถาปัตยกรรมที่เรียบง่าย ทำให้มีการปรับแต่งน้อยลง และระบบที่เรียบง่ายขึ้น SAP ECC มีสถาปัตยกรรมที่ซับซ้อนกว่าและต้องการการปรับแต่งเพิ่มเติม

เลือก SAP S/4HANA Cloud กับ NEXUS ที่ปรึกษาธุรกิจครบวงจร พร้อมให้บริการทั้ง Upgrade ระบบ และบริการ RISE with SAP

บริษัท เน็กซัส ซิสเท็ม รีซอร์สเซส จำกัด เป็นพาร์ทเนอร์กับ SAP อย่างเป็นทางการ ในระดับ SAP Gold Partner มีทีมผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์และได้รับใบรับรองจาก SAP Global Certification อีกทั้งมีประสบการณ์ในการให้คำปรึกษาและวางระบบธุรกิจมากกว่า 24+ ปี

  • เน็กซัสฯ เป็น Long-term Business Partner ที่พร้อมเคียงข้างธุรกิจในระยะยาว นำเสนอโซลูชันที่ตอบสนองต่อความต้องการทางธุรกิจแบบครบวงจร
  • มีประสบการณ์ด้านการให้คำปรึกษาและวางระบบ SAP S/4HANA Cloud แบบครบวงจร และมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ ทั้งการอัปเกรดระบบ และ บริการ RISE with SAP
  • ให้บริการแบบ End-to-End ตั้งแต่การให้คำปรึกษาทางธุรกิจไปจนถึงการดำเนินการวางระบบ และ Maintenance Support โดยทีมงานมืออาชีพและมีประสบการณ์
  • มีโซลูชันและบริการเสริมพิเศษที่สนับสนุน การทำงานเชื่อมต่อกับแพลตฟอร์มต่าง ๆ เช่น Social Media, E-Commerce, Marketplace, POS, QR Code, RFID, Sensor, E-Tax, E-Filing, ขนส่ง, ธนาคาร รวมถึงอุปกรณ์ IoT ต่าง ๆ เป็นต้น
  • มีความเชี่ยวชาญในโซลูชันธุรกิจมากกว่า 10 อุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมการผลิต ธุรกิจการจัดจำหน่าย ธุรกิจการค้าปลีก-ค้าส่ง และธุรกิจการให้บริการ
  • เน็กซัสฯ เป็นพาร์ทเนอร์กับ SNP ที่นำเสนอโซลูชัน CrystalBridge® เจ้าเดียวในไทย ให้ธุรกิจสามารถ Move to SAP S/4HANA แบบ Near-Zero Downtime และ Data Selective ได้อย่างรวดเร็ว และปลอดภัย
สนใจ SAP Business One หรือต้องการปรึกษาโซลูชัน

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่

เว็บไซต์ www.nexus-sr.com
อีเมล mkt.th@nexus-sr.com
Line Official Account :@nexus-sr.com
โทรศัพท์ 02-091-1900
Share the Post:

หัวข้อน่าสนใจ

ERP vs Accounting

รู้ครบจบที่นี่ บัญชี ERP กับโปรแกรมบัญชี Accounting ทั่วไป 2 ระบบนี้ต่างกันอย่างไร

Search

Customer Story Kick-Off, Go-Live

ERP vs Accounting

รู้ครบจบที่นี่ บัญชี ERP กับโปรแกรมบัญชี Accounting ทั่วไป 2 ระบบนี้ต่างกันอย่างไร

Other

ERP vs Accounting

รู้ครบจบที่นี่ บัญชี ERP กับโปรแกรมบัญชี Accounting ทั่วไป 2 ระบบนี้ต่างกันอย่างไร

เริ่มทดลองใช้งาน