Search
Search

ลดข้อจำกัด จัดการความเสี่ยงในห่วงโซ่อุปทาน ด้วย ซอฟต์แวร์ Supply Chain Management

หลังจากเกิดการระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ไม่มีใครคาดคิดว่าจะเกิดขึ้น ส่งผลให้หลายอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบอย่างหนัก ทั้งขาดแคลนวัตถุดิบ ซัพพลายเออร์และการขนส่งหยุดชะงัก การผลิตสินค้าเกิดความล่าช้า แต่ในเหตุการณ์เดียวกัน หลายบริษัทกลับสามารถรับมือได้ดี เพราะสามารถเข้าถึงข้อมูลสต๊อกสินค้าของซัพพลายเออร์ ทำให้คาดการณ์เหตุการณ์และเตรียมตัวรับมือได้ทัน เป็นผลมาจากการใช้ ซอฟต์แวร์ Supply Chain Management หรือเทคโนโลยีเฉพาะนั่นเอง

 

รู้ทันความเสี่ยงในห่วงโซ่อุปทาน

องค์กรที่มีการจัดการซัพพลายเชนส่วนใหญ่มุ่งเน้นที่การปรับต้นทุนให้เหมาะสม และการเพิ่มประสิทธิภาพและปริมาณ ซึ่งเป็นแนวคิดแบบดั้งเดิมและไม่ครอบคลุมการจัดการความเสี่ยงจากการหยุดชะงัก อีกทั้งการพึ่งพาการบริหารของซัพพลายเออร์เพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอและมีความเสี่ยงมากเกินไป ธุรกิจจำเป็นต้องพิจารณาเครื่องมือใหม่ๆ และเข้าใจถึงสาเหตุของการหยุดชะงักในห่วงโซ่อุปทาน

ซอฟต์แวร์-Supply-Chain-Management-1.webp

ทำความเข้าใจ 6 ปัจจัยความเสี่ยงในห่วงโซ่อุปทาน

  1. ความเสี่ยงด้านอุปทาน – การขาดแคลนวัตถุดิบขาเข้า รวมถึงขาดความสามารถในการควบคุมปริมาณและคุณภาพ ส่งผลให้เกิดความไม่ต่อเนื่อง เกิดการหยุดชะงัก และยากต่อการคาดการณ์ได้
  2. ความเสี่ยงจากอุปสงค์ – ความต้องการที่ผันผวนและไม่แน่นอน ยากต่อการคาดการณ์
  3. ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ – ขาดความสามารถในการจัดการ ทำให้ไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ และไม่ได้มาตรฐาน ส่งผลถึงต้นทุน เวลาและคุณภาพ
  4. ความเสี่ยงจากสิ่งแวดล้อม – เช่น ปัญหาจากภัยธรรมชาติ ซึ่งยากต่อการควบคุมและคาดการณ์
  5. ความเสี่ยงจากปัจจัยทางภูมิรัฐศาสตร์ – เกิดจากความขัดแย้งหรือข้อจำกัดทางการค้า
  6. ความเสี่ยงจากปัจจัยด้านเศรษฐกิจ – มีผลต่ออุปสงค์ และส่งผลไปถึงราคาสินค้าและต้นทุนการผลิต

 

จะเห็นว่าความเสี่ยงในห่วงโซ่อุปทานดังกล่าว มีทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก ทำให้องค์กรต้องพิจารณาเพิ่มความซับซ้อนในการวางแผนกลยุทธ์ จัดหาเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นและความคล่องตัว ในการจัดการห่วงโซ่อุปทานขององค์กร ลดความเสี่ยงที่คาดการณ์ได้ยาก

ซอฟต์แวร์ Supply Chain Management เทคโนโลยีที่ช่วยจัดการความเสี่ยงในห่วงโซ่อุปทาน

ปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่ช่วยในการจัดการห่วงโซ่อุปทาน หนึ่งในเทคโนโลยีที่หลายๆ องค์กรคุ้นเคย คือ ระบบ ERP เป็น back-office ที่รวมศูนย์การทำงาน รวมข้อมูลสำคัญทำให้เข้าใจจุดแข็งและจุดอ่อนในห่วงโซ่อุปทาน ช่วยจัดการคลังสินค้า และยังทำให้การทำงานเป็นไปได้แบบอัตโนมัติ

 

แน่นอนว่าระบบ ERP ยังคงสำคัญในการทำงานขององค์กร แต่ในแง่ของการลดความเสี่ยงในห่วงโซ่อุปทาน องค์กรอาจต้องใช้เครื่องมือที่ช่วยเสริมระบบ ERP แบบดั้งเดิม เพื่อช่วยระบุความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากปัจจัยภายนอก ระบุและคาดการณ์ล่วงหน้าว่าอาจเกิดปัญหาที่ใด หรือจุดใด ตัวอย่างของเครื่องมือซัพพลายเชนที่เป็นที่ยอมรับ คือ Blue Yonder ผู้นำด้าน Supply Chain Planning Solution 2021 จัดอันดับโดย Magic Quadrant ของ Gartner 

Blue Yonder ซอฟต์แวร์ Supply Chain Management โซลูชันวางแผนซัพพลายเชนอัจฉริยะ

Blue Yonder เป็นซอฟต์แวร์ที่มุ่งเน้นการจัดการห่วงโซ่อุปทานและการเพิ่มประสิทธิภาพห่วงโซ่อุปทาน ขับเคลื่อนด้วย AI/ML และ Luminate™ Planning เครื่องมือวางแผนซัพพลายเชน (Supply Chain Planning) แบบครบวงจรที่มีความอัจฉริยะ ช่วยวางแผน บริหารจัดการ คาดการณ์ความเสี่ยงต่างๆ รวมถึงโอกาสทางธุรกิจจะเกิดขึ้นพร้อมเสนอคำแนะนำ สำหรับการปรับเปลี่ยนแผน และบริหารจัดการซัพพลายเชน (Supply Chain) ของธุรกิจทุกส่วนอย่างรวดเร็ว แม่นยำ

 

ปรึกษาโซลูชัน Blue Yonder ซอฟต์แวร์ Supply Chain Management กับ NEXUS

เน็กซัสฯ เป็นพาร์ทเนอร์ของ Blue Yonder หนึ่งเดียวในประเทศไทย มีประสบการณ์มากกว่า 23 ปี ในการเป็นผู้เชี่ยวชาญที่ให้บริการ IT Solution Consulting แบบครบวงจร ให้คำปรึกษา และวางระบบซอฟต์แวร์ธุรกิจ เพื่อเพิ่มศักยภาพสนับสนุนการบริหารธุรกิจยุคดิจิทัลให้เกิดประโยชน์ และประสิทธิภาพสูงสุด โดย เน็กซัสฯ มีทั้งประสบการณ์ และมีผลงานในการวางระบบซอฟต์แวร์ TMS จาก Blue Yonder ให้กับธุรกิจชั้นนำในประเทศไทยอย่าง บริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด

สนใจระบบ Blue Yonder หรือปรึกษาโซลูชัน ซอฟต์แวร์ Supply Chain Management

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่

เว็บไซต์ www.nexus-sr.com

อีเมล mkt.th@nexus-sr.com

Line Official Account : @nexus-sr.com

โทรศัพท์ 02-091-1900

Share the Post:

หัวข้อน่าสนใจ

ERP vs Accounting

รู้ครบจบที่นี่ บัญชี ERP กับโปรแกรมบัญชี Accounting ทั่วไป 2 ระบบนี้ต่างกันอย่างไร

Search

Customer Story Kick-Off, Go-Live

ERP vs Accounting

รู้ครบจบที่นี่ บัญชี ERP กับโปรแกรมบัญชี Accounting ทั่วไป 2 ระบบนี้ต่างกันอย่างไร

Other

ERP vs Accounting

รู้ครบจบที่นี่ บัญชี ERP กับโปรแกรมบัญชี Accounting ทั่วไป 2 ระบบนี้ต่างกันอย่างไร

เริ่มทดลองใช้งาน