โปรแกรม ERP หรือ ซอฟต์แวร์บริหารจัดการทรัพยากรธุรกิจ เป็นเครื่องมือสำคัญในการทำธุรกิจยุคนี้เลยก็ว่าได้ ซึ่งการลงทุน ERP มีปัจจัยหลายข้อที่ต้องคำนึง เช่น ความสามารถของระบบ ความเชี่ยวชาญของผู้ให้บริการ การอบรมการใช้ระบบที่ยืดหยุ่น เป็นต้น เนื่องจาก ERP เป็นการลงทุนที่ใช้เงินไม่น้อย ลงทุนหนึ่งครั้ง ใช้ได้ในระยะยาว
4 เทรนด์โปรแกรม ERP
1. โปรแกรม ERP บนคลาวด์ (Cloud ERP) หลังจากผ่านสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 หลายๆ องค์กรได้รับผลกระทบในการทำงาน จากการที่วางระบบแบบ On-premise ในขณะที่พนักงานไม่สามารถทำงานแบบ on-site ได้ ทำให้เกิดความยากลำบากในการทำงาน หลายองค์กรจึงเริ่มย้ายมาใช้ระบบ Cloud ERP มากขึ้น ทลายขีดจำกัดในการทำงาน สามารถเข้าถึงโปรแกรมจากที่ไหนก็ได้ อีกทั้งต้นทุนต่ำกว่า ดูแลง่ายกว่าและมีความปลอดภัยสูงอีกด้วย ไม่ต้องกังวลกับการบำรุงรักษาและอัปเกรดระบบที่มีราคาแพง
สรุปประเด็นสำคัญ Cloud ERP
- โซลูชัน ERP แบบเดิมมีต้นทุนสูงทั้งการติดตั้งและการบำรุงรักษา ด้วยเหตุนี้ ธุรกิจต่างๆ จึงเลือกใช้โซลูชันบนคลาวด์มากขึ้นเรื่อยๆ
- ปัจจุบัน SaaS ERP ใช้วิธีการแบบแยกส่วน สามารถเลือกที่ใช้ประโยชน์ได้เฉพาะโมดูลที่ต้องการได้ ซึ่งช่วยให้บริษัทต่างๆ ควบคุมงบประมาณของตนได้ดียิ่งขึ้น
2. โปรแกรม ERP แบบพกพา (Mobile support) ในยุคที่โทรศัพท์มือถือแทบจะเป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินชีวิต ERP ยุคใหม่จึงเริ่มมีการรองรับการทำงานผ่านโทรศัพท์มือถือ ในรูปแบบ Application มากขึ้น เพื่อตอบสนองการทำงานที่ต้องใช้ความรวดเร็วในการแข่งขัน ผู้บริหารสามารถเซ็นอนุมัติเอกสารจากที่ไหนก็ได้ พนักงานสามารถสร้างใบสั่งซื้อและสื่อสารกับลูกค้าได้ทันที ผ่านโทรศัพท์มือถือ สามารถเข้าถึงข้อมูลทางธุรกิจที่สำคัญทุกที่ทุกเวลา เพิ่มความคล่องตัวในการทำธุรกิจ
สรุปประเด็นสำคัญ ERP Mobility
- ERP รองรับการใช้งานบนมือถือ ช่วยให้ผู้ใช้เข้าถึงข้อมูลได้ทุกที่
- ERP Mobility ช่วยให้ผู้ใช้สามารถดำเนินธุรกิจได้จากทุกที่ ทุกเวลา
- เทคโนโลยีนี้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน โดยพนักงานสามารถเข้าถึงข้อมูลและเครื่องมือที่จำเป็น เพื่อทำงานได้ทั้งนอกเวลาทำการและนอกสถานที่
- ERP บนมือถือ ช่วยให้มีความคล่องตัวในการทำงาน เรียกดูข้อมูลได้อย่างแม่นยำ และเรียลไทม์จากแม้ไม่ได้เข้าบริษัท
- ERP บนมือถือ ช่วยปรับปรุงกระบวนการสื่อสาร ลดผลกระทบที่ตามมาของความล่าช้าให้เหลือน้อยที่สุด
3. โปรแกรม ERP อัจฉริยะ (AI)
ERP อัจฉริยะจะช่วยทำให้การทำธุรกิจเป็นเรื่องง่ายและแม่นยำยิ่งขึ้น โดยการใช้ AI ในการขับเคลื่อนการทำงาน สามารถรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ขยายการทำงานที่เป็นอัตโนมัติ เช่น การจัดการเอกสารทางบัญชี อาจจะถูกดำเนินการผ่าน AI ได้ เป็นต้น อีกทั้งช่วยปรับปรุงกระบวนการปฏิบัติงาน และช่วยให้ผู้บริหารสามารถใช้ข้อมูลทางธุรกิจให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้
สรุปประเด็นสำคัญ ERP อัจฉริยะ
- การใช้ AI จะช่วยให้สามารถเปลี่ยนข้อมูลทางธุรกิจให้เป็นข้อมูลเชิงลึกที่นำไปใช้ได้จริง
- AI นำเสนอวิธีใหม่ในการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ ซับซ้อน และไม่มีโครงสร้าง
- ERP ที่ขับเคลื่อนโดย AI จะช่วยลดเวลาในการทำงาน และลดข้อผิดพลาดที่เกี่ยวข้องกับการประมวลผลข้อมูลได้
4. การวิเคราะห์ที่ทรงพลังยิ่งขึ้น (Analytics)
ไฮไลต์สำคัญของซอฟต์แวร์ ERP คือ การรวบรวมและจัดระเบียบข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากการสำรวจบริษัทต่างๆ พบว่า องค์กรที่ใช้ประโยชน์จากการวิเคราะห์ข้อมูล มีแนวโน้มที่จะมีประสิทธิภาพทางการเงินสูง สามารถตัดสินใจได้เร็วขึ้นห้าเท่า และวางแผนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นสามเท่า ส่งผลให้ ERP สมัยใหม่มีการพัฒนาความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลให้ตอบโจทย์ความต้องการของธุรกิจยิ่งขึ้น
ERP สมัยใหม่จะมาพร้อมกับการวิเคราะห์แบบบูรณาการ ความสามารถในการแสดงรายงานเฉพาะกิจ และแสดงข้อมูลเป็นแผนภาพที่เข้าใจง่าย ช่วยให้ผู้ใช้เข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องได้แบบเรียลไทม์ สามารถใช้ข้อมูลในการตัดสินใจทางธุรกิจที่สำคัญ และแนวโน้มในอนาคต ERP จะสามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เรียนรู้วิธีการที่จะใช้ประโยชน์จากการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ มีข้อมูลที่จำเป็นในการคาดการณ์แนวโน้มในอนาคตมากยิ่งขึ้น
สรุปประเด็นสำคัญ ERP Analytics
- ผู้ใช้ ERP พึ่งพาแอพของบุคคลที่สามน้อยลง เนื่องจากโปรแกรมที่ทันสมัยส่วนใหญ่จะมีการวิเคราะห์ในตัว
- ERP พร้อมเครื่องมือวิเคราะห์ช่วยให้ผู้ใช้เข้าถึงรายงานแบบเรียลไทม์
- การวิเคราะห์ จะทำให้ผู้ใช้ทุกระดับ สามารถตัดสินใจเฉพาะกิจได้
- ERP สามารถแสดงข้อมูลเชิงลึกผ่านการแสดงภาพข้อมูลได้