Search
Search

กลยุทธ์ การจัดการซัพพลายเชน ยุคใหม่ ปลดล็อกห่วงโซ่อุปทาน ด้วยแพลตฟอร์ม Supply Chain

กลยุทธ์ การจัดการซัพพลายเชน ยุคใหม่ ปลดล็อกห่วงโซ่อุปทาน ด้วยแพลตฟอร์มซัพพลายเชน

 

หลังจากเกิดสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้บริษัทชั้นนำทั่วโลก ตระหนักถึง ความเสี่ยงด้านซัพพลายเชน หรือ Supply Chain Risk ที่จะส่งผลต่อการเติบโตของบริษัทในช่วง 3 ปีข้างหน้า ธุรกิจต่าง ๆ จึงเริ่มมองหาแนวทางการรับมือ โดยการหากลยุทธ์​​การจัดการซัพพลายเชนใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่น คล่องตัวให้กับธุรกิจ เช่น เพิ่มทางเลือกในการสั่งซื้อวัตถุดิบและเพิ่มช่องทางการขนส่งโดยการเพิ่มแหล่งผู้ผลิตและผู้จำหน่ายวัตถุดิบ, กระโดดเข้าสู่ออนไลน์ เพื่อเข้าถึงลูกค้าใหม่ ๆ ผ่าน E-Commerce หรือ E-Marketplace เป็นต้น

การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการซัพพลายเชน ด้วยแพลตฟอร์มนั้นมีความสำคัญต่อความสำเร็จทางธุรกิจโดยรวมมาก การศึกษาโดย Bank of America Global Research ซึ่งอ้างโดย Reuters พบว่ามีการพูดถึง “ซัพพลายเชน” เพิ่มขึ้น 412% ในรายงานผลประกอบการไตรมาสสามในปีนี้ เมื่อเทียบกับปี 2020

 

การจัดการซัพพลายเชน (Supply Chain Management)

 

การจัดการซัพพลายเชน (Supply Chain Management) คือ ระบบการบริหารจัดการและเชื่อมโยงเครือข่าย ตั้งแต่ ซัพพลายเออร์ ผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย โดยมีการเชื่อมโยงระบบข้อมูล ไม่ว่าจะเป็น วัตถุดิบ สินค้าและบริการ ต้นทุน การส่งมอบ เป็นต้น เพื่อส่งมอบสินค้าหรือให้บริการแก่ลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด พร้อมทั้งได้ตรงตามเวลาและความต้องการ

การใช้ AI เพื่อการตัดสินใจเริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้นเรื่อย ๆ ในการบริหารจัดการ Supply Chain เนื่องจากในยุคปัจจุบัน การเชื่อมโยงกระบวนการทางธุรกิจไม่ได้จำกัดอยู่เพียงบริษัทเดียวอีกต่อไป แต่จะมีลักษณะที่เป็นเครือข่าย (Network Relation) เป็นการเชื่อมโยงระบบการทำงานข้ามบริษัทจนกลายเป็นการทำงานในลักษณะของ Supply Chain Management เชื่อมโยงกิจกรรมทางธุรกิจตั้งแต่ Suppliers ไปจนถึง Consumer

โดยข้อมูลทั้งหมดจะถูกนำมาวิเคราะห์ วางแผน สนับสนุนในการตัดสินใจ และการบริหารจัดการ เช่น การวางแผนการจัดหาหรือสั่งซื้ออัตโนมัติ การบริหารจัดการการผลิตแบบเรียลไทม์ การบริหารจัดการสินค้าคงคลังให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม การติดตามการขนส่งที่แม่นยำ การส่งมอบสินค้าและบริการที่ตรงเวลา การติดตามข้อมูลและเอกสาร เป็นต้น เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า พร้อมทั้งสามารถการคาดการณ์ความเสี่ยงต่างๆ ล่วงหน้า เพื่อเตรียมรับมือกับสถานการณ์ความไม่แน่นอนต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

6 กลยุทธ์การจัดการซัพพลายเชน

 

  1.) เพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสาร ในการตัดสินใจอย่างรวดเร็ว ตลอดทั้งระบบการจัดการ Supply Chain ต้องมีข้อมูลที่อัปเดตและเรียกดูได้แบบเรียลไทม์

2.) ควบคุมการไหลของห่วงโซ่อุปทานอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการตอบสนองความต้องการลูกค้า เช่น สินค้าถูกต้อง ตรงตามความต้องการ และตรงเวลา เป็นต้น

3.) ใช้การขนส่งแบบ Cross-Docking เพื่อลดเวลาการเก็บสินค้าไว้ในคลัง โดยใช้คลังสินค้าเป็นเพียงจุดกระจายสินค้าไปยังลูกค้าแต่ละราย จำนวนที่เข้าเท่ากับจำนวนที่ออกตามความต้องการของลูกค้าSAP Business One มี Business Process ที่มีมาตรฐานระดับสากล และมีเสถียรภาพสูง พัฒนาโดย SAP บริษัทผู้พัฒนาซอฟต์แวร์สัญชาติเยอรมัน เป็นที่ยอมรับมากกว่า 150 ประเทศทั่วโลก อีกทั้งยังมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอีกทั้งยังรองรับทางการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีและธุรกิจให้ทันต่อสถานการณ์

4.) ใช้การขนส่งแบบ Direct ส่งถี่ ส่งตรง ส่งน้อย เป็นการลด Lead Time โดยใช้วิธีการส่งที่บ่อยขึ้น และส่งในจำนวนที่น้อยตามความต้องการของลูกค้า ไม่ต้องรอออเดอร์ขนาดใหญ่ถึงส่ง เพื่อเป็นการลดการรอคอยและการจัดเก็บสต๊อกในปริมาณที่มาก

5.) ลดจำนวนสต๊อกสินค้าทั้งห่วงโซ่อุปทาน โดยการวิเคราะห์สต๊อกร่วมกัน แบบ Just-in-Time เป็นการบริหารซัพพลายเชนที่ไม่ใช่การบริหารเฉพาะในองค์กรตัวเอง แต่ทำพร้อมกันทั้งระบบ เพื่อไม่เป็นการผลักภาระสต๊อกสินค้าไปยังซัพพลายเออร์ หรือ ผู้แทนจำหน่ายสินค้า เพราะหากบริหารเฉพาะในองค์กร ภาพรวมของสต๊อกสินค้าทั้งซัพพลายเชนจะไม่ได้ลดลง เพียงแต่ถูกผลักภาระไปที่อื่นแทน

6.) ลดค่าใช้จ่าย โดยเน้นการจัดซื้อจัดหาวัตถุดิบหรือสินค้าที่มีคุณภาพอย่างคุ้มค่าที่สุดในเวลาที่เหมาะสม ช่วยลดต้นทุนให้กับธุรกิจ

ซึ่งใน 6 กลยุทธ์ของการจัดการซัพพลายเชน ธุรกิจต่างๆ สามารถเลือกปรับได้ตามความเหมาะสม และข้อแนะนำอีกอย่างหนึ่งคือการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่มีประสิทธิภาพในการจัดการ ซึ่งจะสามารถทำให้ช่วยตอบโจทย์การจัดการได้เป็นอย่างดี

 

ปลดล็อกห่วงโซ่อุปทาน ด้วยแพลตฟอร์มซัพพลายเชนแบบครบวงจรของ Blue Yonder

 

Blue Yonder ผู้นำด้านระบบ Supply Chain Planning Solution 2021 จัดอันดับโดย Magic Quadrant ของ Gartner เป็นซอฟต์แวร์ซัพพลายเชนอัจฉริยะที่ขับเคลื่อนด้วย AI และ Machine Learning สามารถวางแผน บริหารจัดการ คาดการณ์ความเสี่ยงต่าง ๆ รวมถึงวิเคราะห์โอกาสทางธุรกิจที่จะเกิดขึ้น พร้อมเสนอคำแนะนำสำหรับการปรับเปลี่ยนแผนและการบริหารจัดการ Supply Chain ของธุรกิจทุกส่วนได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ

Blue Yonder มี Luminate Platform ซึ่งเป็นระบบวางแผน การจัดการ Supply Chain ที่มีศักยภาพในการวิเคราะห์ข้อมูลแบบดิจิทัล ช่วยให้แบรนด์ระดับโลกสามารถใช้ข้อมูลที่เกิดขึ้นในซัพพลายเชนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ทั้งการบูรณาการ ประมวลผล และดำเนินการ โดนให้มุมมองธุรกิจแบบ End-to-End เพื่อวางแผนเชิงรุกและมอบประสบการณ์ระดับโลกให้กับลูกค้าของทุกธุรกิจ

 

Luminate Platform ของ Blue Youder

 

ด้วยความสามารถของแพลตฟอร์ม Luminate สร้างระบบที่เชื่อมต่อกันอย่างไร้ขอบเขต ครอบคลุมห่วงโซ่อุปทานทั้งหมด ซึ่งขับเคลื่อนโดยปัญญาประดิษฐ์ (AI) และการเรียนรู้ของเครื่อง (ML) แพลตฟอร์ม Luminate ช่วยให้บริษัทต่างๆ มองเห็นข้อมูลแบบเรียลไทม์และความเชื่อมโยงอย่างถูกต้องทั่วทั้งเครือข่ายแบบครบวงจร ความสามารถในการระบุข้อผิดพลาดแบบเรียลไทม์ ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างประสิทธิภาพ และสร้างการตอบสนองทันทีอย่างอัตโนมัติได้ช่วยให้ลูกค้า Blue Yonder จำนวนมากสามารถควบคุมความไม่แน่นอนในปัจจุบันได้

 

พลัง AI แบบตอบสนองเชื่อมโยงทั่วทั้งระบบ

ด้วยระบบสมดุล แพลตฟอร์ม Luminate มีประสิทธิภาพการทำงานที่สร้างการตอบสนองแบบประสานสอดคล้องกันและกัน ทำให้องค์กรมองภาพโดยรวมของซัพพลายเชนได้

จากกรณีศึกษา เมื่อมีเหตุการณ์ไม่คาดคิดเกิดขึ้น คือ การพลาดการส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่สำคัญ จากเดิมที่เคยกำหนดไว้ล่วงหน้าแล้ว แพลตฟอร์ม Luminate จะดำเนินการกระตุ้นให้เกิดการตอบสนองอัตโนมัติ ต่อข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นไปทั่วทั้งระบบเครือข่าย

แพลตฟอร์ม Luminate ช่วยการวางแผนการจัดหาและเติมเต็มของสินค้าคงคลังให้สมดุล โดย Luminate Control Tower ซึ่งคอยตรวจสอบซัพพลายเชนแบบ end-to-end อย่างต่อเนื่องแบบเรียลไทม์เพื่อหาข้อผิดปกติ สามารถระบุการส่งมอบที่มีโอกาสพลาด โดย AI ของระบบจะวางแผนการจัดหา เพื่อเติมเต็มช่องว่างของอุปทาน รวมถึงการระบุซัพพลายเออร์รายอื่นและสินค้าคงคลังส่วนเกินทั่วทั้งเครือข่าย ด้วยข้อมูลแบบเรียลไทม์ AI จะชั่งน้ำหนักต้นทุนและการแลกเปลี่ยนบริการ ของแต่ละตัวเลือกโดยอัตโนมัติ โซลูชันนี้จะสร้างแบบจำลองเครือข่าย ช่วยให้มั่นใจได้ว่าแผนใหม่จะบรรลุผลได้ รวมถึงโครงสร้างซัพพลายเชนในปัจจุบัน มีการกำหนดค่าเครือข่ายต่างๆ มากมาย เปลี่ยนแปลงได้ง่ายตามความจำเป็น เพื่อจัดการช่องว่างการจัดหาชั่วคราวได้ เมื่อมีการกำหนดแผนใหม่ จะมีการสื่อสารแบบดาวน์สตรีมไปยังผู้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยอัตโนมัติและทันที

 

Blue Yonder เป็นที่ยอมรับของบริษัทชั้นนำทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยเองก็มีหลากหลายบริษัทชั้นนำที่ใช้โซลูชันของ Blue Yonder เข้ามาช่วยในการวางแผนและการบริหารธุรกิจ เช่น บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) (CPF) บริษัท โอสถสภา จำกัด (มหาชน) บริษัท ไทยน้ำทิพย์ และ จำกัด บริษัท โดลไทยแลนด์ จำกัด เป็นต้น

Blue Yonder ครอบคลุมการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานทุกส่วนของธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น

  • Sales & Operations Planning
  • Supply Planning & Replenishment
  • Production Planning
  • Merchandise Financial Management
  • Inventory Optimization
  • Network Designพร้อมทั้งรวม AI, ระบบอัตโนมัติ, อัลกอริทึมขั้นสูง, Big Data และการวิเคราะห์ เพื่อสร้างความสามารถอันทรงพลังในการวางแผนให้กับธุรกิจ ให้สามารถจัดการความซับซ้อนทางธุรกิจและตัดสินใจอย่างเหมาะสม สามารถปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ได้ในรูปแบบที่คล่องตัว

ทำไมต้องเลือกวางระบบ Blue Yonder กับ NEXUS

เน็กซัสฯ เป็นพาร์ทเนอร์ของ Blue Yonder หนึ่งเดียวในประเทศไทย มีประสบการณ์มากกว่า 23 ปี โดยได้ให้คำปรึกษาช่วยพัฒนาระบบ และวางระบบซอฟต์แวร์ (SAP, Blue Yonder) และ Cloud Platforms (SAP, AWS, CSL) เพื่อเพิ่มศักยภาพสนับสนุนการบริหารธุรกิจยุคดิจิทัลให้เกิดประโยชน์และประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งนี้ เน็กซัสฯ มีผลงานในการวางระบบซอฟต์แวร์ Blue Yonder ให้กับธุรกิจชั้นนำในประเทศไทยอย่าง บริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด และ บริษัท โดล (ประเทศไทย) จำกัด เป็นต้น

 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่

เว็บไซต์ www.nexus-sr.com
อีเมล mkt.th@nexus-sr.com
Line Official Account : @nexus-sr.com
โทรศัพท์ 02-091-1900

 

 

ติดต่อผู้เชี่ยวชาญ

 

Share the Post:

หัวข้อน่าสนใจ

ERP vs Accounting

รู้ครบจบที่นี่ บัญชี ERP กับโปรแกรมบัญชี Accounting ทั่วไป 2 ระบบนี้ต่างกันอย่างไร

Search

Customer Story Kick-Off, Go-Live

ERP vs Accounting

รู้ครบจบที่นี่ บัญชี ERP กับโปรแกรมบัญชี Accounting ทั่วไป 2 ระบบนี้ต่างกันอย่างไร

Other

ERP vs Accounting

รู้ครบจบที่นี่ บัญชี ERP กับโปรแกรมบัญชี Accounting ทั่วไป 2 ระบบนี้ต่างกันอย่างไร

เริ่มทดลองใช้งาน